แหล่งที่เที่ยว กำแพงเพชร
ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร
ที่อยู่ : ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร กำแพงเพชร 62000
เป็นศาลที่เก่าแก่มานานกว่า ๗๐๐ ปี เชื่อกันว่าพระเจ้าวรมันต์(เหม่) ผู้เรืองอำนาจเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น ทำด้วยศิลาแลงรูปกลม ยาวประมาณ ๒ เมตร ผังโผล่พื้นมาประมาณ ๑ เมตร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร เป็นศาลที่เก่าแก่มานานกว่า ๗๐๐ ปี เชื่อกันว่าพระเจ้าวรมันต์(เหม่) ผู้เรืองอำนาจเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น ทำด้วยศิลาแลงรูปกลม ยาวประมาณ ๒ เมตร ผังโผล่พื้นมาประมาณ ๑ เมตร มีรูปเศียรเทพารักษ์อยู่บนยอดศิลาแลง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังคาศาลได้พังลงมาทับเสาหลัก
เมืองและเศียรเทพารักษ์ หลังจากนั้นก็อยู่ในสภาพรกร้างมานาน และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๗
และมีพิธีเชิญเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ขึ้นศาล เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๒๗ ต่อมาช่างผู้เชี่ยวชาญจากสำนักช่าง
สิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมได้สำรวจความเสียหายเสาหลักเมืองเดิมและนำไปบูรณเพื่ออนุรักษ์เสาหลักเมืองเดิมพร้อมกันนี้ได้จัดทำเสาหลักเมืองจำลองใหม่ โดยทำจากไม้สักทองมีขนาดความสูงจากพื้นเสา ๒.๒๙ เมตร ความกว้างของฐานขนาด ๖๔ เซนติเมตร โดยได้อัญเชิญเสาหลักเมืองจำลองที่ได้ผ่านการทำพิธีจากกรมศิลปากรมาวางไว้เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา ณ ศาลารายชื่อผู้จัดสร้างศาลหลักเมือง เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๑

เครดิต ที่มา :http://travel.kpppao.go.th/travel/detail/7
อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดกำแพงเพชร ทางฝั่งตะวันออกขอแม่น้ำปิง แบ่งออก เป็น 2 เขต คือ เขตภาย ในกำแพงเมือง และเขตนอกกำแพงเมือง ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ ได้รับการ ประกาศให้เป็น มรดกโลกจากยูเนสโก้ โบราณสถานที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ วัดช้างรอบ วัดพระสี่อิริยาบถ วัดพระนอน วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ
วัดพระแก้ว
ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดอยุธยาหรือวัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัย กำแพงวัดเป็นศิลาแลงกลมทั้งท่อนสูงประมาณเมตรเศษแผนผังของวัด เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปกับกำแพงเพชร กำแพงวัดขาดเป็นตอน ๆ สิ่งก่อ สร้างภายในใช้ศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่ ตรงกลางของวัดมีพระเจดีย์กลมแบบลังกาองค์ใหญ่เป็นประธาน ฐานสี่เหลี่ยม ที่ฐานทำเป็นซุ้มคูหาโดย รอบมี สิงห์ยืนอยู่ในคูหา แต่ชำรุดหมด วัดพระแก้วนี้หลังจากขุดแต่งแล้วปรากฏว่า พบฐานเจดีย์แบบต่าง ๆ กัน รวม 35 ฐาน วิหารใหญ่และเล็ก 8 วิหาร ฐานโบสถ์ 3 แห่ง ซึ่งแสดงว่าเป็นวัดใหญ่ และสำคัญมากมาก่อน ปัจจุบันงานนบพระเล่นเพลง และงานวันสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรก็จัด ให้มีขึ้นในบริเวณวัดพระแก้วแห่งนี้
ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดอยุธยาหรือวัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัย กำแพงวัดเป็นศิลาแลงกลมทั้งท่อนสูงประมาณเมตรเศษแผนผังของวัด เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปกับกำแพงเพชร กำแพงวัดขาดเป็นตอน ๆ สิ่งก่อ สร้างภายในใช้ศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่ ตรงกลางของวัดมีพระเจดีย์กลมแบบลังกาองค์ใหญ่เป็นประธาน ฐานสี่เหลี่ยม ที่ฐานทำเป็นซุ้มคูหาโดย รอบมี สิงห์ยืนอยู่ในคูหา แต่ชำรุดหมด วัดพระแก้วนี้หลังจากขุดแต่งแล้วปรากฏว่า พบฐานเจดีย์แบบต่าง ๆ กัน รวม 35 ฐาน วิหารใหญ่และเล็ก 8 วิหาร ฐานโบสถ์ 3 แห่ง ซึ่งแสดงว่าเป็นวัดใหญ่ และสำคัญมากมาก่อน ปัจจุบันงานนบพระเล่นเพลง และงานวันสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรก็จัด ให้มีขึ้นในบริเวณวัดพระแก้วแห่งนี้
วัดพระธาตุอยู่ที่ตำบลนครชุมเป็นวัดใหญ่รองจากวัดพระแก้วที่อยู่ในกำแพงเมืองกำแพงเพชรรูปทรงเป็นแบบพม่า เรียงจากวัดพระแก้วไป ทางทิศตะวันออก มีเจดีย์ประธานก่อด้วยศิลาแลงปนอิฐฐานสี่เหลี่ยมกว้าง 15 เมตร วัดนี้ภายหลังจากการขุดแต่งและบูรณะเจดีย์ใหญ่ เจดีย์รวมด้านใต้แล้ว ปรากฏว่า มีลักษณะคล้ายแผนผังของวัดสระศรี ที่เมืองสุโขทัยเก่า แต่ลักษณะเจดีย์เป็นแบบกำแพง
ศาลพระอิศวร
ตั้งอยู่ด้านหลังศาลจังหวัด เป็นฐานก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมยกพื้นสูง 1.5 เมตรมีบันไดขึ้นด้านหน้าบนฐานชุกชีอยู่เป็นที่ตั้งของเทวรูปพระอิศวร สัมฤทธิ์ ซึ่งจำลองขึ้นในสมัยที่นายเชาวน์วัศ สุดลาภาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเทวรูปพระอิศวรองค์จริง ปัจจุบันตั้งแสดง อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติกำแพงเพชร รูปพระอิศวรนี้ ในสมัยรัชการที่ 5 ชาวเยอรมันมาเที่ยวเมืองกำแพงเพชร ได้ลักลอบตัดเศียรและพระหัตถ์ส่งลงเรือมากรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2429เจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้บอกเข้ามายังกรุงเทพฯจึงโปรดฯ ให้ขอพระเศียรและพระหัตถ์คืน และได้ทรงสร้างพระอิศวรจำลอง ประทานให้ ซึ่งปัจจุบันตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์ลิน
วัดช้างรอบเป็นวัดที่สร้างบนยอดเนิน มีพระเจดีย์ทรงลังกา ซึ่งยอดหักพังหมดแล้ว มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ที่ชั้นฐานลานประทักษิณประดับ ด้วยช้างทรงเครื่อง ครึ่งตัว จำนวน 68 เชือก ระหว่างช้างแต่ละเชือกมีภาพปั้นรูปลายพรรณพฤกษาในพระพุทธศาสนา เช่น ต้นโพธิ์ และต้นสาละ เป็นต้น
วัดพระสี่อิริยาบถหรือวัดพระยืน วัดนี้มีบ่อน้ำและที่อาบน้ำอยู่หน้าวัดเช่นเดียวกับวัดพระนอน กำแพงเป็นศิลาแลงปักตั้งล้อม 4 ด้าน ด้านหน้าวัดมีวิหาร ขนาดใหญ่ ยกฐานสูง 2 เมตร มีเสาลูกกรงเป็นศิลาแลงเหลี่ยมและมีทับหลังบนมุขหน้าวิหาร สิ่งสำคัญของวัดได้แก่ มณฑปจตุรมุข แต่ละทิศประดิษฐาน พระพุทธรูป 4 ปาง คือ เดิน นั่ง ยืน นอน อยู่โดยรอบทั้ง 4 ทิศตามลำดับ ปัจจุบันเหลือเพียงพระยืนขนาดใหญ่ที่ สวยงาม พระพักตร์เป็นลักษณะ พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชรคือ พระนลาฏกว้าง พระหนุเสี้ยมป็นพระพุทธศิลปะแบบสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชร ซึ่งหาดูได้ยาก
เครดิต ขออนุญาติเจ้าของเว็บไซต์: http://www.paiduaykan.com/province/north/kamphaengphet/kampangphethistorical.html
บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง
บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ตั้งอยู่ที่บ้านลานหิน ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชรประมาณ 22 กิโลเมตร สภาพเดิมบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงเป็นทุ่งนา มีน้ำร้อนผุดขึ้นมา ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงได้นำน้ำไปใช้อุปโภคและบริโภคในฤดูแล้งเป็นประจำทุกปี ในปี พ.ศ. 2541องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงแห่งนี้ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร
ตามตำนานกล่าวว่า บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง แต่เดิมบริเวณบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ มีลักษณะเป็นลุ่มน้ำขัง มีป่าโปร่งล้อมรอบสลับด้วยเนินเตี้ยๆ พื้นดินบางแห่งมีหินโผล่ขึ้นเป็นกลุ่มน้อยใหญ่สลับกันตำนานเล่าว่าครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จประพาสป่าล่าสัตว์มาถึงบริเวณบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ วันหนึ่งพระองค์ทรงเห็นไก่ป่าตัวหนึ่งมีลักษณะสวยงามและมีเสียงขันไพเราะมาก จึงทรงให้นายพรานที่ตามเสด็จ ต่อไก่ป่าตัวนั้นและได้ไก่ป่าสมพระราชประสงค์ โดยมีไก่ป่าตัวอื่นๆ ติดไปด้วยเป็นจำนวนมาก ในวันนั้นพระองค์และนายพรานล่าสัตว์อื่นไม่ได้เลย จึงทรงให้ทหารนำไก่ป่าตัวอื่นๆไปปรุงอาหารสำหรับเสวย แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นป่า ไม่มีบ้านเรือนราษฎร จึงไม่มีไฟใช้ทำอาหาร พระองค์จึงทรงสาปน้ำที่อยู่ในบึงบริเวณใกล้ๆ ให้เป็นน้ำร้อน บึงดังกล่าวจึงเรียกว่า“บึงพระร่วงสาป” ต่อมาภายหลังเรียกสั้นลงว่า “บึงสาป” และเป็นที่โจษขานกันว่าน้ำในบึงสาปนี้สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เช่น โรคปวดเมื่อยตามร่างกาย โรคผิวหนังได้ จึงมีประชาชนในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงพากันไปอาบ ดื่ม กิน และบางรายนำน้ำกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคล
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ได้นำตัวอย่างน้ำแร่ร้อนที่บ่อน้ำพุร้อนพระร่วงแห่งนี้ให้กับหน่วยงานในสังกัดสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร ทำการตรวจวิเคราะห์ผลปรากฏว่าไม่มีสารปนเปื้อนและไม่มีเชื้อโรคที่เป็นอันตราย อีกทั้งไม่มีกลิ่นกำมะถัน อุณหภูมิของน้ำร้อนอยู่ระหว่าง 45-60 องศาเซลเซียส ใช้อาบ แช่ตัวได้ และที่สำคัญดื่มได้อย่างปลอดภัย แร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำแร่ประกอบด้วย แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟลูออไรด์ โซเดียม ไบคาร์บอเนต ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คลอไรด์ ซัลเฟต และไนเตรต
ประโยชน์ของการอาบน้ำแร่ ด้วยอุณหภูมิของน้ำแร่ร้อนอยู่ที่ 45 – 60 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิของความร้อนดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการรักษาทางการแพทย์ ที่เรียกว่า “ธาราบำบัด”โดยอาศัยหลักการที่ว่า การใช้น้ำที่มีอุณหภูมิสูงในระดับที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตมีผลต่อการผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ เป็นผลให้รู้สึกสบายตัวยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายรู้สึกสบายความตึงเครียดน้อยลง ย่อมมีผลต่อสภาพจิตใจ ถือเป็นการลดความเครียดได้อีก
สำหรับอัตราค่าบริการ บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ค่าเช่าห้องอาบน้ำแร่ส่วนตัว ห้องละ 50.- บาท, ค่าอาบน้ำแร่ คนละ 30.- บาท, ค่าบริการโรงอาบน้ำแร่รวม (แยกชาย-หญิง) คนละ 30.- บาท, ค่าเช่าจักรยานน้ำ (30 นาที) คนละ 20.- บาท, ค่าเช่าบ้านพักรับรอง (หลังเล็ก) คืนละ 500.- บาท, ค่าเช่าบ้านพักรับรอง (หลังใหญ่) คืนละ 600.- บาท โดยสามารถติดต่อสอบถามรายระเอียดเพิ่มเติม หรือจองห้องพัก ห้องอาบน้ำแร่ ได้ที่ 0-5574-1787, 08-6403-3537 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ห้องอาบน้ำแร่สวนตัว
บ้านพักรับรอง
จักรยานน้ำ
สินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน..นวดเพื่อสุขภาพ..ได้ที่บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง
หากท่านใดสนใจเดินทางท่องเที่ยวบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง การเดินทาง สามารถไปได้ 2 ทาง คือ จากตัวเมืองตามถนนกำแพงเพชร-สุโขทัย ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ 7 กิโลเมตร รวมระยะทาง 25 กิโลเมตร อีกเส้นทางคือ ถนนหนองปลิง-ท่าไม้แดง ทางเข้าบ่อน้ำพุร้อนจะอยู่ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชรประมาณ 21 กิโลเมตร สังเกตแยกขวามือเข้าไปอีก 5 กิโลเมตร รวมระยะทาง 26 กิโลเมตร
เครดิต ที่มา : https://www.facebook.com/pharuanghotspring/
อุทยานแห่งชาติคลองลาน
น้ำตกคลองลาน
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 200 เมตร เกิดจากเทือกเขาขุนคลองลานเขาคลองขลุง และเขาคลองสวนหมาก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ไหลลงมาจาก หน้าผาสูง 100 เมตร กล้าง 40 เมตร และด้านล่างของน้ำตกเป็นแหล่งน้ำที่ลงเล่นน้ำได้
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 200 เมตร เกิดจากเทือกเขาขุนคลองลานเขาคลองขลุง และเขาคลองสวนหมาก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ไหลลงมาจาก หน้าผาสูง 100 เมตร กล้าง 40 เมตร และด้านล่างของน้ำตกเป็นแหล่งน้ำที่ลงเล่นน้ำได้
น้ำตกคลองน้ำไหล (น้ำตกปางควาย)
แก่งเกาะร้อย
แก่งเกาะร้อยมีลักษณะเป็นลำธารจากคลองสวนหมากไหลผ่านซอกแก่งหินตามลำห้วย มองดูคล้ายเกาะเล็ก ๆ อยู่กลางลำน้ำ จากหน่วยพิทักษ์ คลองสวนหมาก จะต้องนั่งรถขับเคลื่อนสี่ล้อเข้าไปตามถนนดินลูกรัง ประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงจุดลงแพ คือตาดผาแดง จากนั้นจะล่องแพผ่าน ผาชมจันทร์ ตาดช่องแคบ ที่สองข้างทางเป็นโขดหินโอบล้อมอยู่ น้ำค่อนข้างแรง จากนั้นจะล่องผ่านแก่งเกาะร้อย บริเวณนี้น้ำจะแรงและมีแก่งมาก ให้ความตื่นเต้นแก่นักล่องแก่งได้พอสมควร ใช้เวลาในการล่องประมาณ 1.5 ชั่วโมง สำหรับความยากในการล่องอยู่ระดับ 2-3
คลองสวนหมาก
ลำน้ำคลองสวนหมาก เกิดจากน้ำซับจากป่าอุทยานแห่งชาติคลองลานและป่าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ไหลลงมารวมกันเกิดลำน้ำคลองสวนหมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของลำน้ำคลองสวนหมากคือ แก่งเกาะร้อย สำหรับน้ำคลองสวนหมาก จะมีนักท่องเที่ยวนิยมล่องแพยาง ประมาณเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก และมีแก่งหินเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท้าทายลักษณะของลำคลองสวนหมากจะเป็น แก่งหิน และเนินทราย มีน้ำไหลตลอดทั้งปี
จุดชมวิวเขาหัวช้าง
เป็นจุดชมทิวทัศน์ ที่อยู่ไม่ไกลจากที่ทำการมากนัก มีความสูงประมาณ 500-600 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ใช้เวลาเดินเท้าขึ้นไปประมาณ 1 ชม. สามารถมองเห็นน้ำตกคลองลาน ชมพระอาทิตย์ตกยามเย็น และพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า เพื่อความเหมาะสม ควรค้างแรมบนสันเขาหัวช้างใน ช่วงปลายฝนต้นหนาว ระหว่างเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์
น้ำตกเพชรจะขอ
เป็นน้ำตกขนาดกลางที่นับว่าสวยงามอีกแห่งหนึ่ง ไหลลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นๆทั้งหมดสี่ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงมากกว่า30 เมตร โดยเฉพาะชั้นที่สี่ที่ สามารถมองเห็นได้จากถนนด้านนอกเขตอุทยานมีความสูงมากกว่า70 เมตร แต่น้ำตกที่สวยงามไม่ได้อวดความสวยงามได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากฤดู แล้งน้ำจะน้อย การเดินทางจากสามแยกที่เลี้ยวซ้ายไปคลองน้ำไหล ให้ตรงไปตามทางประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คล.3 (เพชรนิยม) จากนั้นเดินเท้าเข้าไปอีก 1.5 กิโลเมตร
เครดิต ที่มา : http://park.dnp.go.th/visitor/scenicshow.php?id=50
สำหรับผู้ที่ต้องการพักเต็นท์ต้องนำเต็นท์ไปเองโดยเสียค่าธรรมเนียมสถานที่กางเต็นท์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติคลองลาน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร 62180 โทร. 0 5576 6022-3
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติคลองลาน
จากกรุงเทพฯ เดินทางโดยรถยนต์ถนนสายเอเซียผ่านจังหวัดนครสวรรค์ก่อนถึงตัวจังหวัด กำแพงเพชร ที่โค้งวิไล เลยหลักกิโลเมตรที่ 307 มานิด หน่อยพอถึงสะพานลอยให้เลี้ยวซ้ายตามถนนหมายเลข 1242 ผ่านอำเภอปางศิลาทอง จนไปถึงสามแยกเขาน้ำอุ่น เลี้ยวขวาตามถนนหมายเลข 1072 ถึงสี่แยกตลาดคลองลาน ขับรถเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองลาน หรือ จากกรุงเทพฯ เดินทางโดยรถยนต์ถนน สายเอเซียผ่านจังหวัดนครสวรรค์ก่อนถึงตัวจังหวัด กำแพงเพชรตรงหลักกิโลเมตรที่ 346 เลี้ยวซ้ายที่ตลาดบ้านคลองแม่ลายเข้าไปตามถนนสายคลอง แม่ลาย-อุ้มผาง ระยะทาง 46 กิโลเมตร ถึงบริเวณสี่แยกตลาดคลองลานจะมีทางแยกขวามือ เข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ คลองลาน ซึ่งอยู่ใกล้กับน้ำตกคลองลาน
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทองจังหวัดกำแพงเพชรและอำเภอแม่วงก์และอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็น แหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็น ต้นกำเนิดของแม่น้ำแม่วงก์อันเป็นต้นน้ำของ แม่น้ำสะแกกรังนอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็กๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมี หน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติสภาพภูมิอากาศ ของอุทยานแห่ง ชาติแม่วงก์ ในช่วงฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่เหมาะแก่การไปท่องเที่ยว มากที่สุดเพราะอากาศค่อนข้างหนาวเย็น
จุดชมวิวกิ่วกระทิง
ช่องเย็นช่องเย็น กม.ที่ 93 อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 28 กิโลเมตร เป็นจุดสูงสุดของถนนคลองลาน-อุ้มผาง สูง 1,340 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีสายลม พัดผ่านและหมอกปกคลุมอยู่เสมอ อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี และเป็นที่ดูพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงามอีกจุดหนึ่ง อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียล เนื่องจากบริเวณนี้เเป็นช่องเขาที่มีสายลมพัดผ่านตลอดเวลา จึงถูกขนานนามว่า “ช่องเย็น” ตามสภาพภูมิอากาศของพื้นที่แห่งนี้ เนื่องจากช่องเย็นมีสภาพอากาศที่เย็นและชื้น จึงพบพันธุ์ไม้ที่ชอบความชุ่มชื้นบริเวณนี้ ได้แก่ กล้วยไม้ เฟิร์น มหัสดำ (Treefern) นอกจากนี้ช่องเย็น ยังเป็นถิ่นอาศัยของนกหลากหลายชนิด จึงเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองไทย บริเวณ ช่องเย็น มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ แต่จะต้องเตรียมอุปกรณ์มาเอง คือ ผ้าพลาสติก เสื้อกันหนาว โลชั่นกันแมลง และถุงสำหรับนำขยะลงไปทิ้ง เพราะช่องเย็นไม่สามารถกำจัดขยะได้ ตะเกียงหรือไฟฉาย เพราะไฟฟ้ามีให้ใช้ตั้งแต่เวลา 17.00-21.00 น. ช่องเย็นยังมีจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม คือ จุดชมวิวผาสวรรค์ สามารถชม วิวได้ 360 องศา
บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว แต่ต้องนำเต็นท์ไปเอง ระบบไฟฟ้า มีใช้บริเวณที่ทำการ อุทยานแห่งชาติ ส่วนบริเวณแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ยังไม่มีไฟฟ้าใช้
ลานกางเต็นท์
นักท่องเที่ยวต้องมาลงทะเบียนที่ศูนย์บริการฯ และแจ้งความประสงค์สำรองที่พักเต็นท์ หรือจองเต็นท์ใดๆก่อนทั้งสิ้น ณ เวลานั้น เท่านั้นการสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ มีเต็นท์ให้เช่าขนาดเดียว คือ เต็นท์โดม พักได้ 1-3 คน หลังละ 225 บาท ไม่รวมชุดเครื่องนอนใด ชุดเครื่องนอนมีให้เช่า หมอน 10 บาท แผ่นรองนอน 20 บาท และถุงนอน 30 บาท /ชิ้น
สอบถามข้อมูลได้ที่ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กม.ที่ 65 ถนนคลองลาน-อุ้มผาง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร 62180 โทรศัพท์ 090 457 929
นักท่องเที่ยวต้องมาลงทะเบียนที่ศูนย์บริการฯ และแจ้งความประสงค์สำรองที่พักเต็นท์ หรือจองเต็นท์ใดๆก่อนทั้งสิ้น ณ เวลานั้น เท่านั้นการสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ มีเต็นท์ให้เช่าขนาดเดียว คือ เต็นท์โดม พักได้ 1-3 คน หลังละ 225 บาท ไม่รวมชุดเครื่องนอนใด ชุดเครื่องนอนมีให้เช่า หมอน 10 บาท แผ่นรองนอน 20 บาท และถุงนอน 30 บาท /ชิ้น
สอบถามข้อมูลได้ที่ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กม.ที่ 65 ถนนคลองลาน-อุ้มผาง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร 62180 โทรศัพท์ 090 457 929
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติแม่วงก์
จากจังหวัดนครสวรรค์ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ถึงแยกโค้งวิไลบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 307+500 ให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวง จังหวัดหมายเลข 1242 (ผ่านอำเภอปางศิลาทอง) ไปประมาณ 40 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1072 ไปอีก 10 กิโลเมตรจะพบ สี่แยกคลองลาน ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1117 ถนนคลองลาน-อุ้มผาง ประมาณ 15 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านพักโซนที่ 1 (โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ) และเป็นเส้นทางไปบ้านพักโซนที่ 2 (โซนช่อง)
ตลาดไนท์ บาร์ซ่า แหล่งช้อปกำแพงเพชร
ตลาดไนท์บาร์ซ่า เทศบาลเมืองกำแพงเพชร ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยได้ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อจำหน่ายอาหารสำเร็จรูป จำนวน ๔ อาคาร และได้กำหนดพื้นที่เป็นจุดผ่อนผันการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ บริเวณด้านหน้าและด้านหลังตลาด เพื่อรองรับผู้ประกอบการค้าประเภทจำหน่ายเสื้อผ้าและสินค้าทั่วไปที่มีจำนวน ๒๖๐ ราย ปัจจุบัน วิถีชีวิตของคนในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชรส่วนใหญ่ มีชีวิตความเป็นอยู่ผูกพันกับตลาดไนท์บาร์ซ่า เนื่องจากเป็นย่านการค้าที่สำคัญของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร เพราะเป็นแหล่งจำหน่ายอาหารและสินค้าทั่วไป ประเภทเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย กิ๊ฟชอป ฯลฯ ในช่วงเวลาเย็นจนกระทั่งค่ำ ตลาดไนท์บาร์ซ่า จึงเป็นสถานที่ที่ผู้คนในเมืองใช้ชีวิต จับจ่ายใช้สอยกันอย่างเนืองแน่นไม่ขาดสาย จากความเจริญเติบโตของเมือง ทำให้ตลาดไนท์บาร์ซ่าของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร กลายเป็นย่านเศรษฐกิจการค้าที่สำคัญของจังหวัด ประกอบกับความเป็นเมืองประวัติศาสตร์ ทำให้มีนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่น ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ และพักค้างคืนในเมืองกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก
ที่อยู่ :
ถ.สิริจิต ต.ในเมือง อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร
ตลาดย้อนยุคนครชุม
ประวัตินครชุม
นครชุมเป็นชุมชนที่เก่าแก่โบราณได้แก่ โบราณสถาน วรรณกรรมศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและ คุณค่าทางประเพณีต่างๆอันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินที่สืบทอดต่อกันมา ตำบลนครชุมแต่เดิมเป็นอาณาจักรนครชุม เมืองใหญ่แห่ง แม่น้ำปิงมีการสันนิษฐานว่าสถาปนาขึ้นในราวพุทธศักราช1700รุ่งเรืองมาจนราว พุทธศักราช2000เนื่องจากถูกน้ำกัดเซาะ เมืองนครชุมจึงกลายเป็นเมืองร้าง ประชาชนจึงงย้ายไปสร้างเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออกคือเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน นครชุมได้รับ การฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่งในสมัยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี)เสด็จมาที่เมืองกำแพงเพชรและค้นพบจารึกนครชุมทำให้ค้นหา เมืองนครชุมพบจึงได้ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่โดยมีวัดพระบรมธาตุนครชุมเป็นศูนย์กลางเมืองนครชุมมีประชาชนหลายชนชาติเข้ามาอาศัยอยู่อาทิ ลาวจากเวียงจันทร์ พม่า กระเหรี่ยงมอญ ไทยใหญ่ เงี้ยว จีน แต่วัฒนธรรมได้กลมเกลื่อนกันกลายมาเป็นตำบลนครชุมในปัจจุบันทำให้ นครชุมมีวัฒนธรรมที่หลากหลายแปลกและน่าสนใจที่เก่าแก่เกือบ 200 ปี ประกอบด้วยบ้านเรือนที่งดงามอายุกว่าร้อยปีหลายหลัง ที่ยังรักษาสภาพไว้ได้ มีประเพณีวัฒนธรรมที่กลมกลืนกัน มีอาหารการกินที่แปลกอร่อยขึ้นชื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาวงามที่นครชุม งามกว่าแห่งใดๆ เพราะมีความงามกิริยามารยาทแบบไทยๆ มีผิวพันธุ์แบบพม่าและมีรูปร่างกำลังงามแบบลาว ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพรับจ้างและค้าขายเนื่องจากไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอื่นใดที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน นอกจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียมประเพณี มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและการค้าขายที่เป็นอาชีพหลักของประชาชน ในชุมชนเห็นได้จากเทศกาลงานประเพณีสำคัญๆของ จังหวัดกำแพงเพชร
ดังนั้นการรื้อฟื้นปรับสภาพวิถีชีวิตของคนในชุมชน อาคารบ้านเรือนโบราณ ตั้งแต่ร้านค้าเก่าแก่ตลาดโบราณซึ่งเคยคึกคักเมื่อร้อยปี ที่ผ่านมา แล้วเงียบเหงามากว่า50ปี ให้กลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่งจึงถือว่าเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวนครชุมเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส ให้ถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นและอาหารพื้นบ้าน ชมวิถีชีวิตของคนในชุมชน อาคารบ้านเรือนโบราณโบราณ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็น มรดกทางวัฒนธรรม และเหมาะแก่การเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ที่สร้างชื่อเสียงให้จังหวัดกำแพงเพชรทางหนึ่ง
รายละเอียดเพิ่มเติม สถานที่จัดตลาดย้อยยุคนครชุม จัดบริเวณสามแยกนครชุม โดยจัดวางแคร่ไม่ไผ่เป็นที่วางจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่มและสินค้าต่างๆ ต่อเนื่องบนถนน ซึ่งปิดให้เป็นถนนคนเดิน ความยาวประมาณ 200เมตร เปิดทุกๆศุกร์ เสาร์ อาทิตย์แรกของเดือน ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป
เครดิต ที่มา : http://www.paiduaykan.com/province/north/kamphaengphet/nakornchummarket.html
สำหรับประเพณีงานสารทไทย กล้วยไข่ เมืองกำแพง จัดขึ้นในช่วงเวลาวันสารทเดือนสิบของทุกปีในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม ซึ่งเทศกาลทำบุญสารท ถือเป็นการทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนาที่เก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรก โดยคำว่า "กระยาสารท" แปลว่า "อาหารที่ทำในฤดูสารท" และเนื่องจากจังหวัดกำแพงเพชรอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะ กล้วยไข่ จึงได้มีการนำเอากล้วยไข่ไปรับประทานกับกระยาสารท เพื่อเพิ่มรสชาติหวานอร่อยกลมกล่อมยิ่งขึ้น
เครดิต ที่มา : https://travel.kapook.com/view95569.html
งานนพพระเล่นเพลง
จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองเก่าที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศไทย ในสมัยสุโขทัยกำแพงเพชรมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านต้องคอยรับศึกสงครามอยู่เสมอ จึงได้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลงเหลืออยู่ให้เห็นมากมายในปัจจุบัน เช่น วัดโบราณ ป้อมปราการ คูเมือง กำแพงเมือง เป็นต้น ทำให้จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย
นอกจากโบราณสถานที่เก่าแก่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองแล้วยังมีวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันที่สำคัญก็คือ “ประเพณีนบพระเล่นเพลง” ซึ่งเป็นการทำบุญในวันเพ็ญเดือนสาม หรือวันมาฆบูชา
ประวัติและความเป็นมา
ประเพณีนบพระ-เล่นเพลงของชาวกำแพงเพชรนั้น ได้นำคำในศิลาจารึกศรีนครชุม หลักที่ ๓ มาเป็นชื่องาน มีความว่า “ผู้ใดไหว้นบ กระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุ และพระศรีมหาโพธิไซร้ มีผล อานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบพระผู้เป็นเจ้า…” คำว่า “นบ” เป็นคำโบราณ แปลว่า ไหว้ ดังนั้น การนบพระจึง หมายความว่า “ไหว้พระ”
สำหรับคำว่าเล่นเพลง คือ การละเล่นสนุกสนานพื้นบ้าน โดยมีการร้องเพลงพื้นบ้าน มีชาย หญิงร่วมร้องและร่ายรำเป็นที่สนุกภายหลังจากได้ทำบุญทำกุศลแล้ว
งานประเพณีนบพระ-เล่นเพลงในแผ่นดินพระเจ้าลิไทจัดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2526 ด้วย ความร่วมมือของจังหวัดกำแพงเพชร กรมศิลปากร และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการจัดงานครั้งนั้นทางผู้จัดได้นำเอาประวัติศาสตร์ในแผ่นดินพระเจ้าลิไท ตอนเสด็จ พระราชดำเนินนำพระมเหสี ข้าราชบริพาร ตลอดจนไพร่ข้าแผ่นดินชาวเมืองชากังราว และเมืองนครชุมไปนมัสการพระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฏ เมืองสุโขทัย แล้วมาถวายสักการะบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุ ณ วัดพระบรมธาตุ นครชุม มาเป็นตอนสำคัญของงาน
กำหนดการจัดงาน
จัดในช่วงวันมาฆบูชาหรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของประเทศไทย
กิจกรรมและพิธี
สถานที่จัดงาน คือ บริเวณวัดพระบรมธาตุนครชุม จะมีการแสดงพระราชประวัติ ตอนพระ เจ้าลิไทไปทำการนบพระ พร้อมด้วยมเหสี และข้าราชบริพาร เริ่มต้นขบวนที่บริเวณวัดพระบรมธาตุนครชุม เมื่อนบพระเรียบร้อยแล้วก็มีการรำโคม รำถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคของ พระเจ้าลิไทก็เคลื่อนออกจากวัดเข้าสู่เมืองกำแพงเพชร
ตอนค่ำมีมหรสพแสดงให้ชมหลายอย่างด้วยกัน และที่สำคัญคือ การเล่นเพลง ที่แสดงโดย นักศึกษาวิทยาลัยครูกำแพงเพชร เล่นได้ดีเป็นที่สนใจของผู้มาเที่ยวงาน ส่วนบริเวณวัดพระแก้ว มีการแสดง แสงและเสียง เรื่องเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเมืองกำแพงเพชร ส่วนในภาคกลางวันมีการออกร้าน และบริการนำเที่ยวโบราณสถาน โดยใช้เกวียนเป็น พาหนะ โดยนำมาจากอำเภอพรานกระต่าย (สมชาย พิทยาศักดิ์งาม, 2534, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย,2531)
เครดิต ที่มา : https://rakthaitradition.wordpress.com/
งานกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกำแพงเพชร ขอเชิญร่วม "งานสารทไทย กล้วยไข่ เมืองกำแพง" ระหว่างวันที่ 30 กันยายน-10 ตุลาคม 2559 ณ ลานโพธิ์หน้าที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
สำหรับประเพณีงานสารทไทย กล้วยไข่ เมืองกำแพง จัดขึ้นในช่วงเวลาวันสารทเดือนสิบของทุกปีในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม ซึ่งเทศกาลทำบุญสารท ถือเป็นการทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนาที่เก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรก โดยคำว่า "กระยาสารท" แปลว่า "อาหารที่ทำในฤดูสารท" และเนื่องจากจังหวัดกำแพงเพชรอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะ กล้วยไข่ จึงได้มีการนำเอากล้วยไข่ไปรับประทานกับกระยาสารท เพื่อเพิ่มรสชาติหวานอร่อยกลมกล่อมยิ่งขึ้น
ส่วนภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจหลากหลายอย่าง อาทิ กิจกรรมชมการประกวดกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร, ชมการแข่งขันกวนกระยาสารท กวนข้าวทิพย์, กิจกรรมทอดผ้าป่าแถว, ชมการออกร้านจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และชมการแสดงมหรสพ เป็นต้น
ทั้งนี้สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดกำแพงเพชร โทรศัพท์ 0 5570 5011 หรือ ททท. สำนักงานสุโขทัย โทรศัพท์ 0 5561 6228-9, 0 5561 6366 หรือสามารถอัพเดทความเคลื่อนไหวของงานผ่านทาง https://www.facebook.com/tourkpp/
หมายเหตุ : กำหนดการจัดงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนเดินทาง ข้อมูล ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2559
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น